ทำไมปลาถึงป่วยหน้าฝน? เมื่อถึงช่วงฤดูฝน หรือช่วงที่ฝนตก ผู้เลี้ยงปลาทั้งหลายอาจมักพบกับปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงปลา ซึ่งอาจทำให้ได้รับผลกระทบไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ยิ่งถ้าโอกาสร้อนมาก ๆ ก่อนหน้าที่ฝนจะตกจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ทั้งความเป็นกรด ความเป็นด่าง และความขุ่นของน้ำ ดังนั้น หลังฝนตกจึงมักมีผลกระทบต่อลูกปลา ปลาที่ปล่อยใหม่ หรือปลาที่แบบหนาแน่น มักจะทำให้ปลาเกิดการ น็อคน้ำ หรืออาจทำให้ปลาตาย เนื่องจากปลาไม่สามารถปรับตัวได้ทัน เพราะในน้ำฝนจะมีค่าความเป็นกรด ทำลายสีของปลา และอาจทำให้ปลาเกิดเชื้อโรคได้ง่าย
อาจมีหลาย ๆ ท่านที่สงสัยโดยเฉพาะ ผู้ที่เลี้ยงปลามือใหม่ มักจะพบกับปัญหาปลาน็อคน้ำบ่อย ๆ หลังจากที่ฝนตก ปลาเกิดการติดเชื้อบ้าง หรือปลาตายบ้าง ทั้งนี้เพราะน้ำใหม่ หรือ น้ำฝนที่ตกลงมาใส่ในบ่อ เนื่องจากน้ำฝนมีความเป็นกรด และสกปรก ไม่ได้ผ่านการกรอง หรือ ไม่ได้ทำการฆ่าเชื้อโรค จึงทำให้อุณภูมิของน้ำไม่มีความสม่ำเสมอเปลี่ยนแปลงไป ปลามีการปรับตัวไม่ทัน และอาจตายไปในที่สุด วันนี้ผู้เขียนมีเทคนิคการแก้ปัญหาง่าย ๆ ในหน้าฝน มาฝากทุก ๆ ท่านกันค่ะ 🙂
- เมื่อฝนตกหนัก ทำให้อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยน ปลาจะไม่ค่อยกินอาหาร ดังนั้น ควรลดปริมาณของอาหารให้น้อยลง หรืองดการให้อาหารในวันที่มีฝนตกหนัก
- เมื่อฝนตกหนัก ๆ จะพัดเอาพวกสารเคมีต่าง ๆ เช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี เป็นต้น ที่ล้วนเป็นพิษต่อปลา ซึ่งอาจทำให้ปลาได้รับสารต่าง ๆ เหล่านี่ในช่วงที่ฝนตก และน้ำฝนจะชำระล้างความเป็นกรดจากอากาศ และดินลงสู่บ่อเลี้ยงปลา จึงทำให้ค่า pH ของน้ำในบ่อมีอุณหภูมิที่ต่ำลง และจะทำให้ปริมาณก๊าซพิษเพิ่มมากขึ้น เช่น ก๊าซไข่เน่า แอมโมเนีย เป็นต้น จึงทำให้ปลาเกิดการลอยหัวขึ้นมาหาอากาศหายใจ และอาจเป็นสาเหตุที่ทำใหเปลาเครียด ปลาป่วย และตายได้
- หากฝนยังไม่ตก มีสภาพอากาศที่มืดครึ้ม อบอ้าวเป็นเวลานาน ๆ ซึ่งแน่นอนว่ามีผลต่อการแลกเปลี่ยนของออกซิเจนระหว่างชั้นบรรยากาศกับผิวน้ำได้ลำบาก จึงทำให้ปลาเกิดการขาดออกซิเจน และอาจทำให้ปลาตายในที่สุด
ทำไมปลาถึงป่วยหน้าฝน? วิธีแก้ปัญหาปลาตายในหน้าฝน
- ทำน้ำในบ่อให้มีการหมุนเวียน โดยการใช้เครื่องสูบน้ำ สูบน้ำในบ่อแล้วพ่นน้ำขึ้นมาบนอากาศให้น้ำตกลงมาในบ่อเหมือนเดิม หรือ ติดตั้งปั้มลม เพื่อสร้างเป็นน้ำพุ น้ำจะมีการกระจายตัวเป็นละอองฝอยตกลงมายังบ่อเหมือนเดิม เป็นการเพิ่มออกซิเจนน้ำในให้กับปลา
- ควรถ่ายเทน้ำในบ่อเดิมออก แล้วใส่น้ำใหม่แทนในปริมาณเท่าเดิม (น้ำประปาถ้านำมาเติมในบ่อควรทิ้งไว้ 3-5 วัน เพื่อเป็นการระเหยคลอรีน)
- ให้ใส่จุลินทรีย์ เช่น จุลินทรีย์ปรับสภาพน้ำ ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ทั้งนี้ เพื่อให้คุณภาพของน้ำในบ่อมีสภาพที่ดีขึ้น
- ใส่ปูนขาว ในอัตรา 5-10 กิโลกรัม ต่อ ไร่ ต่อ ครั้ง (เว้นระยะการใส่ให้ห่างกันอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ใส่รวมกันไม่เกิน 60 กิโลกรัม ต่อ ไร่) โดยที่ละลายปูนขาวในน้ำ แล้วสาดลงในบ่อ ปูนขาวจะช่วยป้องกัน และกำจัดโปรโตซัวบางชนิด และยังแก้ความเป็นกรดของน้ำ
- ใส่เกลืองแกง ในอัตรา 160 กิโลกรัม ต่อ ไร่ ควรใส่โดยการหว่านเป็นเม็ด (ไม่ควรใส่เกลือแกงพร้อมกับปูนขาว เพราะจะเกิดการยับยั้งฤทธิ์ของกันและกัน)
ซึ่งแน่นอนว่าการที่มีฝนตกหนัก น้ำไหลลงสู่บ่อปลา มักจะมีปัญหา หรือ ผลกระทบต่าง ๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งเรื่องของปลาน็อคน้ำ ปลาป่วย เชื้อโรคต่าง ๆ ที่มากับน้ำ จนทำให้ปลาของเราที่เลี้ยงไว้ตายในที่สุด ผู้เขียนจะพาผู้อ่านทุก ๆ ท่าน หรือ ผู้ที่เลี้ยงปลามือใหม่ มาดูกันค่ะว่าโรคที่มากับหน้าฝนมีอะไรกันบ้าง และมีแนวทางการแก้ไขอ่างไร
สำหรับโรคของสัตว์น้ำที่มักพบได้บ่อย ๆ และควรระวังในช่วงฤดูฝน ได้แก่
- โรคที่เกิดจากปรสิต ที่มักจะพบในปลา เช่น เห็บระฆัง ปลิงใส เหาปลา และหมัดปลา เป็นต้น ซึ่งปรสิตต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้ปลาเกิดอาการที่ผิดปกติ เช่น การว่ายน้ำที่เปลี่ยนไป อาจว่ายน้ำแฉลบ หรือ ว่ายน้ำเอาตัวถูกับบ่อ หรือ ตู้ปลา หายใจถี่ มีจุดสีแดงขึ้นตามลำตัวของปลา รักษาโดยการ ใช้ด่างทับทิม 1-2 กรัม ต่อน้ำ 1 ตัน สามารถใช้ร่วมกันเกลือได้ 3-5 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1 ตัน ถ้าหากเป็นการรักษาปลา ที่เลี้ยงอยู่ในกระชัง ให้ใช้ผ้าใบหุ้มก่อนสาดสารเคมีลงบ่อ นอกจากนี้ยังแช่ขวด ถุงด่างทับทิม หรือ ถุงเกลือ ไว้ในกระชังเป็นจุด ๆ ทั้งนี้ เพื่อช่วยลดปริมาณปรสิตที่อยู่ในกระชังเลี้ยงปลา และลดความเครียดของปลาได้อีกด้วย
- โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ที่มักจะพบในปลา เช่น ตาโปน ท้องบวม เกล็ดพอง ซึ่งมาจากแบคทีเรีย Vibrios steptococcus Aeromonas flavobacteria เป็นต้น แบคทีเรียต่าง ๆ เหล่านี้ มักจะฉวยโอกาสเข้าไปทำอันตรายกับปลา เมื่อปลาอ่อนแอ และแพร่การจายเชื้ออย่างรวดเร็วโดยผ่านทางกระแสเลือด ปลาที่ป่วยมักจะมรอาการที่ซึม ไม่กินอาหาร มีแผล หรือ เลือดออกตามลำตัวและอวัยวะต่าง ๆ หรือ อาจมีตุ่มที่ใต้คาง ตาขุ่น เป็นต้น หากพบอาการดังกล่าว ควรแยกปลาป่วยออกจากบ่อทันทีแล้วรีบทำการรักษาโดยการ แช่น้ำเกลือ หรือ ยาปฏิชีวนะ
- โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่มักจะพบในปลา เช่น โรคหูดปลา โรคฝีเม็ดใหญ่ KHT และTLV เป็นต้น
การรักษาเบื้องต้นเมื่อปลาเป็นโรค
- คือการงดให้อาหาร เนื่องจาก เมื่อเวลาปลาป่วย ปลาจะไม่ค่อยกินอาหาร มีอาการซึม ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการหมักหมมของอาหารเหลือ ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อโรคในบ่อเลี้ยงปลา
- คอยสังเกตุอาการของปลา ว่ามีอาการอย่างไร หากพบว่าปลาป่วยให้หาสาเหตุว่าปลาป่วยอะไร เมื่อพบสาเหตุที่แท้จริง ให้นำปลาที่ป่วยแยกออกจากบ่อ หรือตู้เลี้ยงทันที แล้วทำการรักษาให้ถูกวิธี
- ใช้ยาหรือสารเคมีต่าง ๆ ในปริมาณที่พอดีในการรักษา ใช้ด้วยความควรระมัดระวัง ควรศึกษาเกี่ยวกับโรคและตัวยา ทั้งนี้เพื่อป้องกันการผิดพลาด หรือเกิดการสูญเสีย
- หากปลาที่ป่วยแล้วตาย ให้นำออกจากบ่อมาฝังดิน เผาทำลาย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
ยารักษาปลาที่มีอาการป่วย

BSDP ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย, ไวรัส, โปรโตรซัว ปลิงใส เห็บระฆัง ปรสิต หนอนสมอ เห็บปลา ออกฤทธิ์ทำลายเชื้อโรคในน้ำได้ในวงกว้าง รวมทั้งเชื้อ KHV ไม่มีผลกระทบต่อความเป็นกรด-ด่าง, ความกระด้าง, ความเค็มของน้ำ, ทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณอ๊อคซิเจนในน้ำ
สำหรับผู้เลี้ยงปลาทุกท่าน เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน หรือช่วงที่ฝนตกหนัก ๆ นั้น อยากให้ผู้เลี้ยงปลา ดูแลบ่อเลี้ยงปลาเป็นพิเศษ ก็เพราะว่า น้ำฝนที่เข้าไปในบ่อปลา จะส่งผลกระทบในหลาย ๆ อย่างให้กับปลาของท่านเอง