วิธีการรักษา
แยกปลาอยู่ในบ่อกัก ควรจะมีชุดกรองเล็กๆด้วย ดูแลน้ำให้สะอาดที่สุด เปลี่ยนน้ำ 20-40% ทุกวัน ค่อยๆเติมน้ำนะครับ เดี๋ยวปลาจะน๊อกน้ำ
อุปกรณ์และยาที่จะเตรียมในการรักษา
- เอ็นโรโกล
- ไคโตซานพลัส
- ยาฉีด Cef-3
- เข็มฉีดยาขนาด 1 ml.
- น้ำกลั่นขนาด 5 ml จำนวน 2 กระปุก
ขั้นตอนและวิธีการรักษา
1 แยกปลาอยู่ในบ่อกัก ในส่วนของบ่อกัก ควรจะมีชุดกรองเล็กๆด้วย ดูแลน้ำให้สะอาดที่สุด เปลี่ยนน้ำ 20-40% ทุกวัน ค่อยๆเติมน้ำนะคะ เดี๋ยวน้องปลาจะน๊อกน้ำได้
2 เตรียมยา cef-3 ผสม น้ำกลั่น
เตรียมยาสำหรับฉีด Cef-3 หรือยาอื่นที่มีตัวยาเดียวกัน
ตัวยาในตลาดมี 2 แบบ ความเข้มข้น 250mg และ 1 g ให้ระวังส่วนนี้เป็นพิเศษ กรณียาขนาด 250mg ให้ใส่น้ำกลั่น 5ml เขย่าให้เข้ากัน ทุกๆ 0.1ml ต่อขนาดปลา 10cm
**ตัวอย่างนะคะ ปลาความยาว 40cm ให้ดึงยามาที่ ขีดเลข 4 ตรงนั้น บ่งบอกถึงปริมาณ 0.4ml. กรณียาขนาด 250mg มีความเข้มข้น 4 เท่า ให้ลดความเข้มข้นลง 4 เท่า เทียบกับตัวอย่างข้างบนนะคะ
กรณียาขนาด 1g มีความเข้มข้น 4 เท่า ให้ลดความเข้มข้นลง 4 เท่า เทียบกับตัวอย่างข้างบนนะคะ ให้ใส่น้ำกลั่น 10ml (2ขวด) เขย่าให้เข้ากัน ทุกๆ 0.1ml ต่อขนาดปลา 20cm
**ตัวอย่างนะคะ ปลาความยาว 40cm ให้ดึงยามาที่ ขีดเลข 2 ตรงนั้น บ่งบอกถึงปริมาณ 0.2ml.
3 เตรียมวางยาสลบ
- เตรียมน้ำให้ท่วมเหงือกปลา
- หยอดยาสลบ (Arowana) 2-3 หยด สองข้าง *ห้ามโดนตัวปลาโดยเด็ดขาด
- รอจนกว่าปลาจะนิ่งหรือทรงตัวไม่อยู่
- เตรียมถังน้ำเเยก สำหรับเตรียมมาฉีดยา โดยนำน้ำในบ่อมาใส่ในถังให้ท่วมเงือกปลา
- จับตัวปลาให้เเน่นเเล้วใช้เข็มฉีดยา เเทงลงใต้ท้อง
- หลังจากฉีดยาเสร็จเเล้ว ทำให้ปลา ฟื้นจากยาสลบ โดยการเอาปลาไปจ่อตรงออกซิเจน
พอปลาทรงตัวได้ก็ปล่อยได้เลยค่ะ
***การฉีดยา ฉีดติดต่อกัน 3-5 วัน ถ้าอาการปลาดีขึ้นจะว่ายน้ำดีขึ้น ร่าเริงขึ้น ท้องจะบวมลดลง ลองให้อาหาร 1-2 เม็ด จะกินได้ปกติ