
ออกซิเจนแบบสำรองไฟ ปั๊มลม หรือ ปั้มออกซิเจน คือ อุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มออกซิเจน เพิ่มอากาศ ให้กับบ่อปลา หรือ ตู้ปลา เพื่อลดการสูญเสียของปลาตาย เนื่องจากออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ หรือ กรณีไฟดับ เป็นต้น
วันนี้มาพบกันอีกเช่นเคยนะคะ ซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงปลา การเตรียมบ่อ หรือมือใหม่เลี้ยงปลา เป็นต้น และสำหรับวันนี้ผู้เขียนจะนำเสนอบทความเกี่ยวกับการใช้ออกซิเจน หรือ ปั๊มออกซิเจนในบ่อปลา มานำเสนอให้ผู้อ่านทั้งหลายได้ทราบข้อมูลกันนะคะ ว่าออกซิเจนมีบทบาทสะคัญอย่างไรกับบ่อปลา มาติดตามไปพร้อม ๆ กันค่ะ ^^
ออกซิเจนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ในการดำรงชีวิต เนื่องจากสิ่งมีชีวิตทั้งพืช และสัตว์ย่อมต้องการออกซิเจนเพื่อการหายใจและเจริญเติบโต ออกซิเจนในน้ำขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น
- อุณหภูมิ
- ระดับความสูง
- ความเค็ม
ออกซิเจนละลายในน้ำได้น้อยเมื่ออุณหภูมิสูง และ น้ำที่มีความเค็มสูงจะมีออกซิเจนละลายอัตราความเข้มข้นเท่ากับออกซิเจนในบรรยากาศเรียกว่า “จุดอิ่มตัว” (Saturation Level)
สัตว์น้ำจะเสี่ยงต่อการขาดแคลนออกซิเจนมากกว่าสัตว์บก ในช่วงฤดูร้อนอัตราการย่อยสลายและปฏิกริยาต่างๆ จะเพิ่มมากขึ้นทำให้ปริมาณความต้องการออกซิเจนสูงไปด้วย บางครั้งในแหล่งน้ำจะมี “ปรากฎการณ์เกินจุดอิ่มตัว(supersaturation)” เนื่องจากการผลิตออกซิเจนออกมามาก เช่น พืชสีเขียวทำการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) ตอนกลางวัน สภาพดังกล่าวหากเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำได้เช่นกัน
ดังนั้น การควบคุมและป้องกันไม่ให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลงอยู่ในระดับต่ำจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อคุ้มครองให้สัตว์น้ำอาศัยอยู่ได้ปกติ
ออกซิเจนแบบสำรองไฟ การเกิดออกซิเจนในน้ำ
- เกิดจากบรรยากาศโยตรง เช่น กระแสลมพักผ่านผิวน้ำ แต่มีในปริมาณที่ไม่มาก
- เกิดจากขบวนการสัง้คราห์แสง (photosynthesis) ของพืชน้ำ เช่น แพลงก์ตอนพืชเป็นแหล่งให้ออกซิเจนในน้ำมากที่สุด คือ ตอนกลางวันพืชน้ำจะทำการสังเคราะห์แสงเพื่อผลิตออกซิเจนออกมาละลายในน้ำ
- เกิดขึ้นจากขบวนการเคมีอื่น ๆ ในน้ำ โดยแหล่งน้ำบางแหล่งอาจมีแร่ธาตุที่ทำปฏิกริยากัน จนทำให้เกิดออกซืเจนละลายในน้ำได้
สาเหตุการลดลงของออกซิเจนในน้ำ
- เกิดจากการหายใจของสัตว์น้ำและพืชน้ำ
- เกิดจากการเน่าสลายของอินทรีย์วัตถุ เช่น เชื้อแบคทีเรีย
- เกิดจากขบวนทางเคมี หรือ สารประกอบแร่ธาตุต่าง ๆ
- เกิดจากการหมุนเวียนของน้ำ ผสมกับน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำน้อยกว่า
ออกซิเจนแบบสำรองไฟ คุณสมบัติของน้ำ
- คุณสมบัติของน้ำ คือ คุณสมบัติของน้ำทางฟิสกส์ เคมี และชีวะ ซึ่งมีความสัมพันธุ์กัน และมีความสำคัญอย่างมากต่อการเพาะเลี้ยง โดยมีผลเจริญเติบโตช้าหรือเร็ว การเกิดหรือตาย ตลอดจนมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น ดังนั้น น้ำที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลา หมายถึง สภาพของน้ำที่สามารถทำให้สัตว์น้ำอาศัยได้อย่างปลอดภัย และมีการเจริญเติบโตแพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างแข็งแรง และปราศจากโรค
- ความเค็ม,ความเป็นกรด-ความเป็นด่าง (pH) , ความกระด้าง และปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ที่สำคัญมากในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ดังนั้น การควบคุมและการป้องกันคุณสมบัติของน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ จึงต้องคอยหมั่นสังเกตสัตว์น้ำและคอยตรวจคุณภาพของน้ำอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียของสัตว์น้ำ เช่น การตายจากการขาดออกซิเจน หรือ มีปริมาณออกซิเจนในน้ำที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนของสัตว์น้ำ เป็นต้น
ค่าความเค็ม (Salinity) หมายถึง ปริมาณของแข็ง เช่น โลหะหนัก สารเคมีจากโรงงาน เป็นต้น หรือ เกลือแร่ต่าง ๆ โดยเฉพาะโซเดียมลอไรด์ (NaCL) ที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยมีหน่วยเรียกว่า (parts per thousand) ppt ความเค็มของน้ำจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ และสำหรับสัตว์น้ำบางชนิด เช่น สัตว์ที่อาศัยน้ำกร่อย ที่อาศัยบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงความเค็มมาก จะสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพความเค็มที่เปลี่ยนแปลงได้ แต่ค่อย ๆ เป็นไปอย่างช้า ๆ โดยจะแบ่งประเภทน้ำตามระดับความเค็มได้ดังนี้
- น้ำจืด ความเค็มระหว่าง 0-0.5 ppt
- น้ำกร่อย ความเค็มระหว่าง 0.5-30 ppt
- น้ำเค็ม ความเค็มมากกว่า 30 ppt ขึ้นไป
ความเป็นกรด-ด่าง (pH) คือ การวัดปริมาณความเข้มข้นของไฮโดรเจนอิออนที่มีอยู่ในน้ำ เพื่อเป็นเครื่องแสดงว่า น้ำ หรือ สารละลายมีคุณสมบัติเป็นกรด-ด่าง ระดับของความเป็นกรด-ด่างจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-14 โดย 7 คือค่าความเป้นกลาง หากต่ำกว่า 7 ถือว่ามีค่าความเป็นกรด หากสูงกว่าจะมีค่าความเป็นด่าง และค่า pH ที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสัตว์น้ำ คือ
- pH 4.0 หรือต่ำกว่า = เป็นจุดอันตรายทำให้ปลาตายได้
- pH 4.0-6.0 = ปลาบางชนิดอาจไม่ตาย แต่ผลผลิตจะต่ำคือ การเจริญเติบโตช้า การสืบพันธุ์หยุดชะงัก
- pH 6.5-9.0 = ระดับที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- pH 9.0-11.0 = ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ หากต้องอาศัยอยู่เป็นเวลานาน
- pH 11 หรือมากกว่า = เป็นพิษต่อปลา
ดังนั้นการเช็คค่า pH ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญ ควรทำการตรวจเช็คบ่อย ๆ เพื่อที่ได้ทราบค่า pH ต่ำสุดและสูงสุด เพื่อป้องกันและแก้ไขได้ทันที
แนวทางการแก้ไขภาวะการขาดแคลนออกซิเจน
- การป้องกันแบบระยะสั้น คือ การใช้เครื่องพ่นน้ำให้เป็นฝอยกระจาย เพื่อดึงเอาออกซิเจนในบรรยากาศลงมา
- การป้องกันแบบระยะยาว เป็นการควบคุมปริมาณของแพลงก์ตอนไม่ให้มีมากจนเกินไป การลดปริมาณแพลงก์ตอน สามารถทำได้โดยการระบายน้ำออกจากบ่อประมาณหนึ่งในสามของปริมาณน้ำเดิม จากนั้นเอาน้ำใหม่เข้าคอยควบคุมลดปริมาณอาหารและปุ๋ยที่ใส่ในบ่อ
นอกจากนี้ แพงก์ตอนพืชชนิดสีเขียมแกมน้ำเงิน (blue green algae) มักจะเกิดขึ้นในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงช่วงฤดูร้อน และแพลงค์ตอนชนิดนี้อาจจะตายพร้อมกันในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใสอละลมสงบ จึงทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง หรือสังเกตได้จากสี จากสีเขียวจะกลายเป็นสีเทา หรือ สีน้ำตาล แสดงว่าเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงชนิดของแพลงก์ตอน ดังนั้น ต้องคอยเฝ้าดูและตรวจสอบออกซิเจนในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างสม่ำเสมอ
ออกซิเจน ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นอย่างมาก ทั้งพืช คน หรือแม้กระทั่งสัตว์บก หรือ สัตว์น้ำ ดังที่ผู้เขียน ได้กล่าวไปข้างต้นเรื่องของบทความแล้วว่า ออกซิเจนมีความสำคัญยังไงต่อสัตว์น้ำ ทำยังไงจะให้เกิดออกซิเจนในน้ำ และแน่นอนค่ะว่า มีตัวช่วยอีกหลากหลายรูปแบบที่สามารถสร้างออกซิเจนในน้ำให้แก่สัตว์น้ำ หรือ ปลาสวยงามที่ท่านผู้อ่านเลี้ยงไว้ และวันนี้ผู้เขียนจะพูดถึง “ออกซิเจนแบบสำรองไฟ” ที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำให้แก่สัตว์น้ำกันนะคะ
ปั๊มออกซิเจน คือ อุปกรณ์ที่ใช้เพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ ให้กับสัตว์น้ำต่าง ๆ มีหลากหลายแบบ และหลายขนาด ขึ้นอยู่กับการใช้งาน
ปั้มออกซิเจนสำรองไฟ
- เป็นปั้๊มลมขนาดใหญ่ Hailea แรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ 22 วัตต์
- สำรองไฟได้ 8 – 12 ชั่วโมง
- กรณีไฟดับทำงานต่อเนื่องอัตโนมัติ
- กินไฟน้อย ประหยัดไฟ ประหยัดพลังงาน
- อายุการใช้งานแบต 1 -2 ปี (สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้)
- ลมแรง สม่ำเสมอ
- สามารถแยกใช้งาน หัวแยกได้หลายทาง เสียงเงียบ
- วัสดุแข็งแรง ทนทาน
**ข้อแนะนำ! ควรวางเครื่องปั๊มออกซิเจนให้สูงกว่าระดับน้ำ เมื่อไฟฟ้าดับน้ำจะไม่ย้อนไหลเข้าเครื่อง
- CP-60 เหมาะสำหรับบ่อขนาด 0.5 – 2 ตัน
- CPA-100 เหมาะสำหรับบ่อขนาด 0.5 – 4 ตัน
- SUNSUN รุ่น YT-818 เหมาะสำหรับบ่อขนาดเล็ก 0.5 – 1 ตัน
- SUNSUN รุ่น YT-838 เหมาะสำหรับบ่อขนาดเล็ก 0.5 – 1 ตัน
สำหรับปั้มออกซิเจนสำรองไฟ จะมีหลายยี่ห้อ หลายขนาด แต่โดยรวมแล้ว ยี่ห้อข้างต้นที่กล่าวมานั้นใช้งานได้ดี และคุ้มค่า ซึ่งปั๊มออกซิเจนแต่ละตัวนั้น จะมีขนาดที่แตกต่างกันออกไป เราควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำในบ่อ




ข้อควรระวัง!! การจะล้างบ่อปลา ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะปลาอาจจะช็อคน้ำ หรือ น็อคน้ำ จากน้ำที่เปลี่ยนใหม่ใหม่ได้ ดังนั้น การล้างบ่อปลาส่วนใหญ่จึงเน้นล้างที่บ่อกรอง เพราะเป็นตัวคอยกรองน้ำให้หมุนเวียนลงสู่บ่อเลี้ยง และควรเริ่มต้นจากการบล็อคน้ำระหว่างบ่อเลี้ยงกับบ่อกรอง ตามด้วยนำวัสดุบ่อกรองออกเพื่อดูดน้ำในบ่อกรองทิ้ง จากนั้นดูดน้ำจากบ่อเลี้ยงขึ้นไปล้างทำความสะอาดบ่อกรอง เหตุผลที่ไม่เลือกใช้น้ำประปา เพราะมีคลอลีน ที่จะทำให้จุลินทรีย์ตายได้ง่าย หลังจากทำความสะอาดบ่อกรองเสร็จ ใส่ระบบกรองให้เข้าที่ แล้วใส่จุลินทรีย์เพิ่มเติมค่ะ